การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์จากสารกลูต้าไธโอน
สารกลูต้าไธโอนมีการนำมาใช้เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับระบบเส้นประสาทบกพร่อง เช่น โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อม โรคปลายเส้นประสาทอักเสบ มะเร็งกระเพาะ และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยได้รับการรับรองให้ใช้เป็นยามามากกว่า 30 ปี การรักษามักจะให้โดยการฉีดเข้าเส้นหรือเข้าที่กล้ามเนื้อ อาการข้างเคียงของยาดังกล่าวตอนนี้ยังไม่พบ แต่อย่างไรก็ตามพบว่า สารกลูตาไธโอนมีผลข้างเคียงในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ซึ่งทำให้เม็ดสีของผิวหนังเปลี่ยนจากเม็ดสีน้ำตาลดำเป็นเม็ดสีชมพูขาว ผลข้างเคียงนี้จึงทำให้มีการแตกตื่นและนำกลูต้าไธโอนมาเตรียมเป็นยาเม็ดเพื่อใช้เป็นอาหารเสริม เพื่อชะลอวัย และหวังผลให้ผิวขาวใสหรือผิวขาวอมชมพู
ยาเม็ดกลูต้าไธโอน ได้ผลจริงหรือ ?
ในวงการของอาหารเสริม มีการนำสารกลูต้าไธโอนมาทำเป็นยาเม็ดในขนาดความแรงต่างๆ กัน เพื่อใช้ในการรับประทานเป็นอาหารเสริม โดยหวังผลว่า จะสามารถเสริมและทดแทนปริมาณกลูตาไธโอนที่ร่างกายมีไม่พอหรือบกพร่องไป อันเนื่องมาจากสาเหตุของโรคต่างๆ
จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า สารกลูตาไธโอนจะไม่สามารถถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหารได้ เพราะจะถูกย่อยสลายและขับออกทางลำไส้ ดังนั้นการรับประทานยาเม็ดกลูต้าไธโอนจึงไม่ได้รับประโยชน์เลย ไม่ว่าจะกินครั้งละหลายๆ เม็ดหรือในขนาดที่สูงมากๆ ก็ตาม
กลูต้าไธโอนช่วยให้ผิวขาวได้จริงหรือ?
ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น อาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ของการใช้ยากลูต้าไธโอนคือ การยับยั้งการสร้างเซลล์เม็ดสีให้ผิวหนัง รวมทั้งการเปลี่ยนเม็ดสีที่สร้างขึ้นจากสีน้ำตาลดำเป็นเม็ดสีชมพูขาว จึงมีการคิดนำเอาสารชนิดนี้มาใช้เป็นอาหารเสริมโดยหวังว่า จะสามารถเสริมและเพิ่มความเข้มข้นของกลูต้าไธโอนในกระแสเลือดให้มากๆ เพื่อหวังผลให้ผิวหน้าขาวอมชมพู แต่ในความเป็นจริงยาเม็ดที่เป็นอาหารเสริมนั้น ทานมากเท่าไหร่ก็จะไม่ได้ผล เพราะสารชนิดนี้จะถูกย่อยสลายและกำจัดออกจากร่างกาย ไม่ถูกดูดซึม แพทย์หลายสำนักจึงได้มีการดัดแปลงโดยทำการฉีดเข้าเส้นหรือเข้ากล้ามเนื้อเช่นเดียวกับการรักษาโรคต่างๆ อย่างไรก็ตามอาการข้างเคียงของผิวขาวเป็นอาการชั่วคราวเท่านั้น จึงไม่ควรใช้ยานี้ในทางที่ผิด
ภาวะที่ร่างกายขาดกลูต้าไธโอน
เนื่องจากสารดังกล่าวร่างกายสร้างได้เอง แต่สภาวะที่ร่างกายอาจขาดหรือมีกลูต้าไธโอนไม่เพียงพอ เช่น เมื่อร่างกายมีโรคแทรกซ้อน ทำให้กลูต้าไธโอนลดน้อยลงด้วยสาเหตุการถูกทำลายด้วยยารักษาหรือด้วยตัวโรคเอง หากร่างกายขาดหรือมีกลูตาไธโอนน้อย จะมีผลทำให้เกิดโรคตับอักเสบง่าย ทำให้ตับทำงานได้ไม่เต็มที่ มีโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจ โรคหืด ผู้ที่มีกรรมพันธุ์เกี่ยวกับความบกพร่องของกลูต้าไธโอนมักจะมีปัญหาโรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท ผู้ที่ป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคเอดส์ ปริมาณกลูต้าไธโอนในระบบเลือดจะต่ำมากๆ ผู้ที่สูบบุหรี่จัดก็เช่นกัน ดังนั้นบุคคลเหล่านี้จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย
กลูต้าไธโอนในธรรมชาติ
พบมากในผลไม้ ได้แก่ แตงโม สตรอเบอรี่ องุ่น ผลอโวกาโด ส่วนในผักพบมากใน หน่อไม้ฝรั่ง สำหรับเนื้อสัตว์จะพบได้ใน ปลา และเนื้อแดง เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว จะพบมากใน Asparagus อะโวกาโด และ Walnut ร่างกายเราก็สามารถสร้างกลูต้าไทโอนได้และมีสารหลายชนิดที่ช่วยเพิ่มการสร้างได้แก่ Alpha lipoic acid, Glutamine3, Methionine, Whey Protein, Vitamin B-6, Vitamin B-2 , Vitamin C4 และ Selenium