สถิติ
เปิดเมื่อ24/01/2012
อัพเดท7/11/2012
ผู้เข้าชม146125
แสดงหน้า455502
สินค้า
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




ยาลดความอ้วน

อ่าน 1650 | ตอบ 1

นปัจจุบันคนจำนวนหนึ่งนิยมใช้ยาลดความอ้วน  เพื่อช่วยในการควบคุมหรือลดน้ำหนักส่วนเกินของตนเอง  เพื่อให้มีรูปร่างอันพึงประสงค์  แต่คนเหล่านั้นหรือใครอีกหลาย ๆ คนรู้หรือไม่ว่ายาลดความอ้วนที่ใช้กันอยู่ทำงานและออกฤทธิ์อย่างไร บทความนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังคร่าว ๆ ก่อนครับว่า ยาลดความอ้วนมีรูปแบบอย่างไรบ้าง แต่ละแบบทำงานกันอย่างไรบ้าง  แบ่งได้เป็นหลายกลุ่ม ดังนี้

1.  ยาลดการอยากอาหาร

        ยากลุ่มนี้เมื่อรับประทานแล้วจะมีผลทำให้รู้สึกเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง อิ่มเร็วขึ้น ดังนั้นเมื่อร่างกายรับอาหารน้อยลง และหากพลังงานที่ได้รับจากอาหารนี้น้อยกว่าพลังงานที่ร่างกายต้องการ  ร่างกายจะต้องหันมาใช้ไขมันสะสมเป็นพลังงานแทน  ก็เป็นผลให้น้ำหนักตัวลดลงได้  ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ที่สมองส่วนไฮโปทาลามัส บริเวณที่เป็นศูนย์ควบคุมการกินอาหาร และบางชนิดยังมีฤทธิ์เพิ่มกลูโคสในกล้ามเนื้อ ผลนี้จะเปรียบเสมือนกับการออกกำลังกายเบา ๆ ยู่ตลอดเวลา  ทำให้ร่างกายได้ใช้พลังงานมากขึ้น และยาบางชนิดยังมีฤทธิ์สลายไขมันและกรดไขมันอีกด้วย

2.  ยาขับน้ำหรือยาขับปัสสาวะ

        ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ขับน้ำออกจากร่างกาย ทำให้ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมากขึ้น จึงทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว นิยมใช้ในพวกนักมวยที่ต้องการรีดน้ำหนักให้เท่ากับพิกัดระยะเวลาสั้น ๆ โดยมากแพทย์จะใช้ยานี้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ภาวะบวมน้ำ เป็นต้น  ยาเหล่านี้หากใช้ในระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง กระหายน้ำ คอแห้ง เนื่องจากร่างกายสูงเสียเกลือแร่และน้ำไปทางปัสสาวะ แต่ยากลุ่มนี้บางชนิดเป็นยาขับปัสสาวะที่สามารถสงวนเกลือแร่บางอย่างโดยเฉพาะโปแตสเซียมได้  จึงทำให้อาการต่าง ๆ ที่เกิดจากการขาดเกลือแร่ลดลง

3.  ฮอร์โมน

        โดยมากมักจะเป็น “ธัยรอยด์ฮอร์โมน” ซึ่งออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากขึ้น เมื่อพลังงานสะสมถูกใช้ไปมากขึ้น น้ำหนักตัวก็ลดลง แต่หากใช้ยาในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการใจสั่น เหงื่อออกมาก หรือมีอาการคล้ายกับคนที่เป็นโรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษได้

4.  ยาระบาย หรือยาถ่าย

        ยากลุ่มนี้มีหลายชนิด  บางชนิดออกฤทธิ์กระตุ้นลำไส้ให้บีบตัว บางชนิดก็ทำให้อุจจาระอ่อนตัว หรือเพิ่มปริมาณอุจจาระทำให้ถ่ายมากหรือบ่อยขึ้น  ยาในกลุ่มนี้มีทั้งที่เป็นน้ำและเป็นเม็ด หลังจากรับประทานแล้วรู้สึกอยากถ่าย  และอุจจาระค่อนข้างเหลว เหมาะสำหรับคนที่ท้องผูกถ่ายยาก

5.  ยาลดกรด

        ยาลดกรดทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวน้อยลง  จึงทำให้ไม่รู้สึกหิว  แต่เป็นเพียงชั่วขณะเท่านั้น  ยาลดกรดจะมีสารประกอบที่เป็น “อะลูมีนัม” ซึ่งแพทย์มักจะใช้ยานี้เพื่อป้องกันหรือรักษาโรคกระเพาะอาหารอับเสบ และบรรเทาอาการปวดท้อง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประทานยานาน ๆ เช่น ท้องผูก หรือขาดสารอาหารบางอย่าง เนื่องจากยาลดกรดไปรบกวนการดูดซึมของสารอาหาร โดยเฉพาะ Fluoride และ Phosphate เป็นต้น

6.  สารสกัดจากใบพืช

        มักจะอยู่ในรูปอาหารสำเร็จรูป  ซึ่งปรุงแต่งให้มีพลังงานต่ำ ส่วนประกอบทั่ว ๆ คือ เส้นใยอาหาร สารอาหารอื่น ๆ คือคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน รวมทั้งเกลือแร่และวิตามินต่าง ๆ เพื่อนำไปรับประทานอาหารปกติ  เพื่อลดปริมาณพลังงานที่ได้จากอาหารได้น้อยลง เนื่องจากเมื่อรับประทานอาหารเข้าไปแล้วเส้นใยอาหารจะพองตัว  ทำให้เพิ่มปริมาณของอาหารในกระเพาะ  จึงทำให้รู้สึกไม่หิว  และทำให้รับประทานอาหารอื่นได้น้อยลง และอิ่มเร็วขึ้น  ปัจจุบันมีการปรุงแต่งอาหารเหล่านี้ทำให้น่ารับประทานมากขึ้น มีทั้งที่เป็นอาหารสำหรับชงดื่ม คุกกี้ ขนมเค้ก  ซึ่งแต่ละชนิดจะมีปริมาณแคลลอรี่แตกต่างกัน มักจะระบุไว้ที่ฉลากผลิตภัณฑ์


ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

แอม
 กล่องเท่าไรค่ะ

 
แอม [171.99.132.xxx] เมื่อ 27/09/2012 23:10
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :